เมนู

[541] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้ง
หลาย! ได้ยินว่าพวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือ
ปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกันไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ทำให้ปรอง
ดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน จริงหรือ."
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วย
หอกคือปากอยู่ สมัยนั้น พวกเธอเข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจี
กรรม และเมตตามโนกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับ
หลัง บ้างหรือหนอ."
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า "ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัย
ใดพวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่
สมัยนั้นพวกเธอมิได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตา
มโนกรรม ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โมฆบุรุษทั้ง
หลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่ม
แทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความ
เข้าใจกัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เธอทั้ง
หลายตลอดกาลนาน".

เรื่องสาราณิยธรรม 6 ประการ



[542] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกภิกษุทั้งหลาย
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรัก

กัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท
กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน 6 ประการเป็น
ไฉน. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบ
ด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็น
เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกันทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
พวกเดียวกัน".
"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วย
เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็น
เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
พวกเดียวกัน".
"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรม อันประกอบ
ด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้
นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อ
ความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อ
ความเป็นพวกเดียวกัน".
"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดย
ธรรม ที่สุดเป็นลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้
เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นเหตุ
ให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกันทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์
กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวก
เดียวกัน".

"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไทย อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาเป็นต้นไม่ครอบงำ เป็นไป
เพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้ง
หลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความ
รักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท
กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน".
ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยา-
นิกธรรม อันนำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึง
ความเป็นผู้เสมอด้วยทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและ
ในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความ
เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
พร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน".
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ
ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ภิกษุทั้ง
หลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้
ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม 6 ประการ
นี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้ ดังว่าเป็นยอดยึดคุมกูฏาคารไว้ ฉะนั้น".
[543] ภิกษุทั้งหลาย! ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยา
นิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็น
ไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็
ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส
ใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่

เรายังละไม่ได้มีอยู่หรือหนอ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้ม
รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันพยาบาทกลุ้ม
รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้ม
รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะ
กลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันวิจิกิจฉา
กลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็นผู้ขวนขวาย
ในการคิดเรื่องโลกหน้า ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้ว
เทียว และเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้
ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้วไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง
ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว
เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย นี้ญาณที่ 1 เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับ
พวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว".

[544] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อิรยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ว่า เมื่อเราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน
ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้
ว่า เมื่อเราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อม
ได้ความดับกิเลสเฉพาะตน นี้ญาณที่ 2 เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับ
ปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว."

[545] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง
นี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรม
วินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้
ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัย

นี้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี นี้ญาณที่ 3 เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่ว
ไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[546] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง
นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ
ด้วยธรรมดาเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วย
ธรรมดาอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ คือความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่น
นั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่ง
อาบัตินั้นในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้ง
หลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบ
เหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนี
เร็วพลัน ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น
นี้ญาณที่ 4 เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวก
นั้นบรรลุแล้ว".

[547] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง
นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ
ด้วยธรรมดาเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ธรรมดาอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ คืออริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอยู่ซึ่งไร ของ
เพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่ เปรียบเหมือนแม่
โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วย ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้

ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้ญาณที่ 5 เป็นอริยะ เป็น
โลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชนอันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[548] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง
นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ. ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย
พละเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละ
อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ฉันบัณฑิตแสดงอยู่ ทำให้มีประโยชน์
ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้
ว่า บุคคลผูถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย
พละเช่นนั้น นี้ญาณที่ 6 เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวก
ปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[549] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง
นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย
พละเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละ
อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย! พละนี้ของบุคคลผูถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวก
นั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้
อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม อริย
สาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่น
ใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้ญาณที่ 7 เป็นอริยะ เป็น
โลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[550] "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์
7 ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้วด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ 7 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบ
พร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ โกสัมพิยสูตรที่ 8

อรรถกถาโกสัมพิยสูตร



โกสัมพิกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ใกล้กรุงโกสัมพี" ความว่า ใกล้พระ
นครมีชื่ออย่างนี้. ทราบว่า ได้มีต้นเล็บเหยี่ยวอย่างหนาแน่นในที่มีสวนและสระ
โบกขรณีเป็นต้นเหล่านั้นๆ แห่งพระนครนั้น เพราะฉะนั้น พระนครนั้นได้ถึง
การนับว่า โกสัมพี. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่า โกสัมพี เพราะฤาษี
ชื่อ กุสัมพะ ให้สร้างไว้ไม่ไกลจากอาศรม. บทว่า "โฆสิตาราม" ได้แก่
อารามที่โฆสิตเศรษฐีให้สร้างไว้.

ได้ยินว่า ในครั้งก่อนได้มีแว่นแคว้นชื่อว่า อทิละ ลำดับนั้น คนเข็ญ
ใจคนหนึ่งชื่อ โกตุหลิก ก็เพราะเกิดฉาตกภัยจึงพร้อมด้วยบุตรและภรรยาไป
แว่นแคว้นที่กำหนดตามคันนา เมื่อไม่อาจจะพาบุตรไปได้ จึงทิ้งแล้วไป
มารดาได้กลับมาอุ้มบุตรนั้นไป. ทั้งสองคนนั้นเข้าไปยังบ้านผู้เลี้ยงโคหลัง
หนึ่ง. ก็ครั้งนั้น คนทั้งหลายได้จัดแจงข้าวปายาสอย่างมากไว้เพื่อผู้เลี้ยงโค
ทั้งหลาย สามีภรรยาทั้งสองนั้นได้ข้าวปายาสจากบ้านนั้นบริโภคแล้ว
ขณะนั้น เมื่อบุรุษนั้นบริโภคข้างปายาสมาก ไม่อาจจะให้ย่อยได้ ตายลง
ตอนกลางคืน ถือปฏิสนธิเกิดเป็นลูกสุนัขในท้องของสุนัขตัวเมียในบ้าน
นั้น. ลูกสุนัขนั้นได้เป็นที่รัก ที่โปรดปรานของผู้เลี้ยง. ก็ผู้เลี้ยงโคได้บำรุง
พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่. ถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อฉันเสร็จแล้ว ก็ให้ก้อน
ข้าวก้อนหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น. มันทำความรักให้เกิดในพระปัจเจกพุทธเจ้า
ไปบรรณศาลากับผู้เลี้ยงโค. เมื่อผู้เลี้ยงโคไม่ได้ตระเตรียม ลูกสุนัขนั้นก็ไปใน
เวลาฉันด้วยตนเองแล้วเห่าที่ประตูบรรณศาลา เพื่อจะบอกเวลา แม้เมื่อเห็น
เนื้อร้ายระหว่างทางก็เห่าให้หนีไป. ลูกสุนัขนั้น มีจิตอ่อนโยนในพระปัจเจก-